หมู่ฟังก์ชัน
หมู่ฟังก์ชัน (อังกฤษ:functional groups ) เป็นส่วนโครงสร้างย่อยของโมเลกุลที่มีองค์ประกอบและโครงสร้างเฉพาะตัว หมู่ฟังก์ชันมักเป็นตัวกำหนดการทำปฏิกิริยาและสมบัติทางเคมีอื่นๆ ของโมเลกุลที่มีพวกมันเป็นส่วนประกอบ
ตารางต่อไปนี้แสดงหมู่ฟังก์ชันนัลที่พบได้บ่อยๆ ในวิชาเคมีอินทรีย์ สูตรโครงสร้างของหมู่ฟังก์ชันจะใช้สํญลักษณ์ R และ R' แทนกลุ่มของอะตอมใดๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหมายถึงส่วนที่เหลือของโมเลกุลที่มีหมู่ฟังก์ชันนั้นเป็นส่วนประกอบ

Functional groupsหมู่ฟังก์ชัน การรวมชื่อฟังก์ชันนัลกรุป เข้ากับชื่อสารประกอบหลัก อัลเคน (alkane) จะทำให้มีน้ำหนักในระบบการตั้งชื่อสารเคมี (systematic name) เพื่อใช้ตั้งชื่อ สารประกอบอินทรีย์
อะตอมที่ไม่ใช่ไฮโดรเจนในฟังก์ชันนัลกรุป จะเชื่อมต่อซึ่งกันและกันแกบโมเลกุลที่ว่างด้วย โควาเลนต์ บอนด์ (covalent bond) แต่ถ้ากลุ่มของอะตอมเชื่อมต่อกับโมเลกุลว่างด้วยแรง ไอออนิก (ionic forces) กลุ่มของอะตอมนั้นจะถูกเรียกว่า พอลิอะตอมิก ไอออน (polyatomic ion) หรือ คอมเพล็ก ไอออน (complex ion) และทั้งหมดนี้จะถูกเรียกว่า อนุมูลทางเคมี (radical) หรือ อนุมูลอิสระ (free radical)
คาร์บอนตัวแรกหลังคาร์บอนที่ติดกับฟังก์ชันนัลกรุปจะเรียกว่า แอลฟ่า คาร์บอน

ฟังเพลงออนไลน์


กรุณาอภิปรายประเด็นนี้ในหน้าพูดคุย ดูเพิ่มที่ คู่มือการเขียน
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ปัจจุบันเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549

โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ การศึกษา

พ.ศ. 2506 ปริญญาตรี สาขาการคลัง (เกียรตินิยม) จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2508 ปริญญาโท ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ (University of Maryland) ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2531 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

พุทธศักราช 2283 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 1740 - มีนาคม ค.ศ. 1741
มหาศักราช 1662 ค.ศ. 1740 วันเกิด

ภาษาโปรตุเกส
ภาษาโปรตุเกส (português) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ที่พูดในประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศโปรตุเกส ประเทศบราซิล ประเทศแองโกลา ประเทศโมซัมบิก และประเทศติมอร์ตะวันออก ภาษาโปรตุเกสมีคนพูดเป็นภาษาแม่มากกว่า 200 ล้านคน ทำให้เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่พูดทั่วโลก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากเป็นอันดับ 5 หรือ 6 ของโลก
ภาษาโปรตุเกสได้รับการขนานนามว่า A língua de Camões อา ลิงกัว เด คามอยส์ ("ภาษาของคามอยส์" ตามชื่อลูอิส เด คามอยส์: Luís de Camões ผู้ประพันธ์ The Lusiad: ลูเซียด) และ A última flor do Lácio อา อุลติมา ฟลอร์ ดู ลาซิโอ ("ดอกไม้ดอกสุดท้ายของละติอุม") คนที่พูดภาษาโปรตุเกสเรียกว่า ลูซิตานิก: Lusitanic หรือ ลูโซโฟน: Lusophones

อัปสร
อัปสร หรือ นางอัปสร (อังกฤษ:Apsara , ภาษาสันสกฤต अप्सरस, อปฺสรสฺ) ถือเป็นชาวสวรรค์จำพวกหนึ่ง มีเพศเป็นหญิง อาจเรียกว่า นางฟ้า ก็ได้ แต่ไม่ใช่เทวดา มีฐานะเป็นอมนุษย์ บังเกิดขึ้นเมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทร เพื่อเอาน้ำอมฤตขึ้นมา ดังความปรากฏในมหากาพย์มหาภารตะ ของอินเดีย
คำว่า "อัปสร" นั้น มาจากคำว่า "อัป" (หมายถึง น้ำ) และ "สร" (หมายถึง การเคลื่อนไป) อัปสร จึงหมายถึง ผู้ที่เคลื่อนไปในน้ำ อันเป็นกำเนิดของนาง ทว่าโดยทั่วไป ถือว่านางเป็นชาวสวรรค์
ในเรื่องเล่าของอินเดียมีการกล่าวถึงนางอัปสรไว้มากมาย นับว่าเป็นตัวละครที่สำคัญตัวหนึ่งในตำนานของอินเดีย ไม่น้อยไปกว่าเทพเจ้าและชาวสวรรค์อื่นๆ
ตามตำนานของฮินดู กล่าวว่าพระพรหมทรงสร้างนางอัปสรขึ้น และเป็นนางบำเรออยู่ในราชสำนักของพระอินทร์ ในคัมภีร์นาฏยศาสตร์ ได้กล่าวถึงนางอัปสรที่สำคัญไว้หลายตนด้วยกัน เช่น มัญชุเกศี, สุเกศี, มิสรเกศี, สุโลจนะ, เสาทมิณี, เทวทัตตะ, เทวเสนะ, มโนรม, สุทาติ, สุนทรี, วิคัคธะ, วิวิธ, พุธ, สุมล, สันตติ, สุนันทา, สุมุขี, มาคธี, อรชุนี, สรลา, เกระลา, ธฤติ, นันทา, สุปุษกลา, สุปุษปมาลา และ กาลภา
นางอัปสรมีอำนาจแปลงกายได้ ทั้งยังมีความสามารถในการขับร้องและเต้นรำเป็นอย่างยิ่ง ในราชสำนักของพระอินทร์มีนางอัปสรอยู่ 26 ตน แต่ละตนมีความสามารถในเชิงศิลปะต่างๆ กัน เทียบได้กับตำนานมูเซ (muse) ของกรีกโบราณ
นอกจากนี้ยังมีตำนานกล่าวต่อไปว่า นางอัปสรนั้นเป็นชายาของคนธรรพ์ ซึ่งเป็นนักดนตรีในสวรรค์ โดยนางจะเต้นรำไปตามจังหวะดนตรีที่สามีของตนบรรเลง โดยทั่วไปมีความเชื่อว่านางอัปสรเป็นเครื่องหมายแห่งความเจริญงอกงาม แต่บางถิ่นก็เชื่อว่าอัปสรมีอำนาจแห่งความชั่วร้ายอยู่ด้วย
ในปราสาทนครวัดของกัมพูชา มีการสลักภาพนางอัปสรไว้มากมาย โดยที่แต่ละรูปมีใบหน้า ท่าทาง และการแต่งกายที่แตกต่างกันไป
ดาวพลูโต
ดาวพลูโต (โมโนแกรม:สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ อยู่นอกวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ในบริเวณแถบไคเปอร์ มีขนาดเล็กกว่า ดวงจันทร์ 7 ดวงในระบบสุริยะ (ดวงจันทร์ของโลก ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด คัลลิสโต ไททัน และไทรตัน) ดาวพลูโตมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2,390 กิโลเมตร มีดวงจันทร์บริวาร 3 ดวง ชื่อ คารอน (มีขนาดประมาณ 1/5 ของพลูโต) นิกซ์ และไฮดรา (2 ดวงหลัง ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2548)
พลูโตเป็นเทพเจ้าแห่งเมืองบาดาลในเทพนิยายโรมัน หรือ เรียกว่า ฮาเดส ในเทพนิยายกรีก สันนิษฐานว่าสาเหตุหนึ่งที่ตั้งชื่อดาวดวงนี้ว่า พลูโต ก็เพื่อให้มีตัวอักษร "P-L" ในชื่อ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ ในภาษาไทยอาจเรียกพลูโต ว่า ดาวยม หมายถึง ยมโลก หรือ นรก ซึ่งก็มีความหมายพ้องกับชื่อ พลูโต หรือ ฮาเดส ในตำนานกรีก

การค้นพบพลูโต
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งประกอบด้วยนักดาราศาสตร์กว่า 2,500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีมติกำหนดนิยามใหม่ของดาวเคราะห์
ส่งผลให้ดาวพลูโตถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ (และวัตถุในระบบสุริยะ(นอกจากดวงอาทิตย์)ได้ถูกจัดใหม่เป็น 3 ประเภท คือ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ และวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ)
การประชุมเพื่อถกเถียงเรื่องสถานภาพของดาวพลูโต ใช้เวลากว่า 1 สัปดาห์
ดาวพลูโตอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากและได้รับแสงน้อย จึงมีอุณหภูมิต่ำมาก นักดาราศาสตร์จะได้ศึกษาดาวพลูโต และวัตถุในแถบไคเปอร์อย่างละเอียดในปี พ.ศ. 2558 เมื่อยานนิวฮอไรซันส์ของนาซา ซึ่งถูกปล่อยเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2549 เดินทางไปถึงวงโคจรของดาวพลูโต ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558

อุทยานแห่งชาติคินาบาลู
อุทยานแห่งชาติคินาบาลู หรือที่เรียกในภาษามาเลย์ว่า Taman Negara Kinabalu เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกๆในมาเลเซีย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2507 และเป็นสถานที่แห่งแรกในมาเลเซียที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2543 เนื่องจากถือว่าเป็นสถานที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
อุทยานแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ชายฝั่งด้านตะวันตกของรัฐซาบาห์ บนเกาะบอร์เนียว ทางตะวันออกของมาเลเซีย มีพื้นที่ 754 ตารางกิโลเมตร อยู่รอบๆภูเขาคินาบาลูซึ่งสูง 4,095.2 เมตร และเป็นภูเขาที่สูงเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากยอดเขาฮากาโบราซีในประเทศพม่า
ภายในอุทยานเป็นแหล่งที่อยู่ของพันธุ์พืชและสัตว์หลากหลายชนิด โดยแบ่งเขตแหล่งที่อยู่ออกตามสภาพทางภูมิศาสตร์ออกได้เป็น 4 เขต ได้แก่ ป่า lowland dipterocarp ป่าสนเขา ทุ่งหญ้าบนที่สูง และพุ่มไม้บนยอดเขา บริเวณภูเขาเป็นแหล่งที่พบกล้วยไม้และพืชกินแมลงหลายสายพันธุ์ ที่มีชื่อเสียงคือสายพันธุ์ Nepenthes rajah และยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ประจำถิ่นอีกมากมาย เช่น ปลิงแดงยักษ์คินาบาลู ไส้เดือนยักษ์คินาบาลู นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้าคินาบาลู


(21 ตุลาคม ค.ศ. 1833, สตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน10 ธันวาคม ค.ศ. 1896, ซานเรโม ประเทศอิตาลี) นักเคมีชาวสวีเดน วิศวกร นักประดิษฐ์ ผู้ผลิตอาวุธและผู้คิดค้นดินระเบิดไดนาไมท์ เขาเป็นเจ้าของบริษัทโบโฟรส์ (Bofors) ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ โดยเขาได้เปลี่ยนแปลงบทบาทของโรงงานจากเดิมที่เป็นโรงงานเหล็กและเหล็กกล้า มาเป็นโรงผลิตปืนใหญ่ และอาวุธต่างๆ
ในพินัยกรรมของเขา เขาได้ยกทรัพย์สมบัติจำนวนมหาศาลได้จากการผลิตอาวุธให้แก่สถาบันรางวัลโนเบล เพื่อมอบรางวัลแก่บุคคลที่สร้างคุณประโยชน์แก่มนุษยชาติ เรียกว่า รางวัลโนเบล และในโอกาสที่มีการสังเคราะห์ธาตุชนิดใหม่ขึ้น นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อธาตุนั้นตามชื่อของเขา เพื่อเป็นการให้เกียรติ ว่า โนเบเลียม (Nobelium)

อัลเฟร็ด โนเบล ประวัติ
อัลเฟร็ด เบิร์นฮาร์ท โนเบลได้ค้นพบว่าเมื่อนำสารไนโตรกลีเซอรินมารวมกับตัวซึมซับเฉื่อย เช่นผงไดอะตอมมาเชียส (diatomaceous earth - ผงที่ทำจากซากไดอะตอมชนิดเดียวกับที่ใช้กรองน้ำในสระว่ายน้ำทั่วไป) จะมีความปลอดภัยมากในการผลิต ซึ่งโนเบลได้จดลิขสิทธิ์ในปี พ.ศ. 2410 โดยใช้ชื่อว่า "ไดนาไมท์" และได้สาธิตดินระเบิดแบบใหม่ของเขาในปีนั้นในเหมืองแห่งหนึ่งในอังกฤษ
ขั้นต่อมา โนเบลได้ผสมไนโตรกลีเซอรินกับดินระเบิดชนิดอื่น (gun cotton) ได้สารชนืดใหม่ที่เป็นเยลลี่ใสที่ระเบิดได้รุนแรงกว่าไดนาไมท์ เรียกว่าเจลลิกไนท์ หรือเจลระเบิดซึ่งโนเบลได้จดลิขสิทธิ์เมือ่ปี พ.ศ. 2419 และก็ได้มีดินระเบิดใหม่หลายชนิดตามมาจาการผสมโพแตสเซียมไนเตรทและสารชนิดอื่นๆ

Airbus
บริษัทแอร์บัส (Airbus S.A.S.) เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินในเมืองตูลูส (Toulouse) ประเทศฝรั่งเศส แอร์บัสเกิดจากการรวมตัวของผู้ผลิตเครื่องบินและยุทโธปกรณ์รายใหญ่ของยุโรป 2 ราย คือ European Aeronautic Defence and Space Company (EADS) (80%) และ BAE Systems (British Aerospace) (20%) แอร์บัสมีพนักงานกว่า 4 หมื่นคน และมีโรงงานหลายแห่งในทวีปยุโรป
แอร์บัสเป็นผู้ผลิตเครื่องบินจากฝั่งยุโรป มีจุดประสงค์ที่จะเพิ่มศักยภาพด้านการบินของยุโรปและแข่งขันกับผู้ผลิตสัญชาติอเมริกัน อย่าง โบอิง และ แมคดอนเนลล์ ดักลาส ปัจจุบันเครื่องบินขนาดใหญ่ของแอร์บัส คือ แอร์บัส เอ 380 กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากสายการบินทั่วโลก (รวมถึงการบินไทย)แต่ทำการผลิตล่าช้าออกไปจากเดิมที่จะส่งมอบในปี 2006 เป็นกำหนดส่งมอบในปี ค.ศ. 2010 ซึ่งทำให้หลายสายการบินพิจารณายกเลิก และบางบริษัทได้ทำการยกเลิกการสั่งซื้อไปแล้ว เช่น FedEx เนื่องจากไม่สามารถส่งมอบเครื่องตามกำหนดได้ ทำให้ส่งผลต่อการวางแผนการบิน

เทมาเส็ก
เทมาเส็ก (อังกฤษ: Temasek ; จีน: 淡马锡), หรือ 'เมืองทะเล' ในภาษาชวา (สะกด: Tumasik) น่าจะเคยเป็นชื่อของเมืองที่เคยตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นประเทศสิงคโปร์ในปัจจุบัน ชื่อนี้ถูกเปลี่ยนเป็น สิงคปุระ ('นครสิงโต' ในภาษาสันสกฤต) เมื่อราวตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 15
เมื่อตอนที่ โทมัส แสตมฟอร์ด ราฟเฟิล (en:Thomas Stamford Raffles) ชาวอังกฤษเดินทางมาถึงใน ค.ศ. 1819 พื้นที่นี้มีเพียงหมู่บ้านชาวประมงหนึ่งแห่ง ดังนั้นเราจึงไม่อาจกล่าวได้ว่า สิงคโปร์ในปัจจุบันและเทมาเส็กนั้นเป็นเมือง ๆ เดียวกัน แม้ว่ามันทั้งสองจะตั้งอยู่บนที่ที่เดียวกันก็ตาม
เทมาเส็ก โฮลดิ้ง หนึ่งในบริษัทลงทุนหลายแห่งของรัฐบาลสิงคโปร์ ตั้งชื่อตามชื่อเมืองเทมาเส็กนี้
สวลี ผกาพันธุ์
สวลี ผกาพันธุ์ หรือชื่อจริง เชอร์รี่ เศวตนันทน์ (6 สิงหาคม 2474 - ) เกิดที่กรุงเทพมหานคร ศิลปินนักร้อง และนางเอกละคร มีผลงานบันทึกเสียงประมาณ 1500 เพลง เป็นศิลปินนักร้องอาวุโสคนแรกที่ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง (เพลงไทยสากล-ขับร้อง) เมื่อ พ.ศ. 2532
เพลงที่โดดเด่นที่สุดที่ได้ร้องคือเพลงบ้านทรายทอง

Blog Archive